บทที่
5
สรุปผล อภิปรายผล เเละ ข้อเสนอเเนะ
5.1 สรุปผล
ประวัติผ้าไหมประวัติผ้าไหม
ที่มีหลักฐาน และการค้นพบเก่าแก่ที่สุด คือ มีการพบที่ประเทศจีน ประมาณ 4,700
กว่าปีที่แล้ว โดยมีหลักฐานที่สามารถอ้างถึงได้ อาทิ
หนังสือจีนโบราณชื่อ ไคเภ็ก ที่กล่าวถึงพระนางง่วนฮุย พระมเหสีของพระเจ้าอึ้งตี่
ที่เป็นผู้ริเริ่มการทอผ้าไหมจากหนอนไหมที่พระองค์สังเกตเห็นโดยบังเอิญ
และได้เผยแพร่ไปสู่เขตต่างๆ รวมไปถึงอาณาจักรใกล้เคียงหลักใหญ่ของการทอผ้าก็คือ
การนําเส้นด้ายมาขัดกันให้เป็นลวดลาย เป็นการสานเช่นเดียวกับการจัก สาน
ใช้เส้นด้ายแทนเส้นตอก
โดยขึงเส้นด้ายชุดหนึ่งเป็นเส้นหลัก เรียกว่า เส้นยืน (warp yarn) แล้วใช้เส้นอีก ชุดหนึ่ง เรียกว่า เส้นพุ่ง(weft yarn) สอดตามแนวขวางของเส้นยืน ขัดกันไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะให้เส้นยืน
ยกขึ้นและข่มลงสอดขัดด้วยเส้นพุ่งสลับ กันไปเรื่อยๆ เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้น อาจกล่าวได้ว่า
เส้นยืนเป็น โครงสร้างหลัก ส่วนเส้นพุ่งเป็นเส้นที่มาเติมเป็นผืนผ้า ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย
ทอจากเส้นไหมซึ่งเป็นใยธรรมชาติที่แข็งแรงที่สุด มีความมันวาว
ดูแล้วสวยงามแตกต่างจากผ้าที่ทอด้วยเส้นใยชนิดอื่น และเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทย
5.2 อภิปรายผล
จากการศึกษาการทอผ้าไหมบ้านโคกตระมูงจากการศึกษาการทอผ้าไหมบ้านโคกตระมูง
ต.ตรำดม อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พบว่าผ้าไหมตัวเเปรหนึ่งในการพัฒนาเศรษกิจในระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ
ด้วยเพราะ ประวัติอันยาวนานเมื่อ 4700 ที่เเล้ว
ผ้าไหมไทยนับเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
มีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ลวดลาย และสีสันแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
ตามความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมในพื้นถิ่น
จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า
ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย
นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน
และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว
ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย
จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
1.
มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา
และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล
2.
นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ
ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
3.
นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด
มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่น น้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง
อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้
4.
ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต
รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ
5.
แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง
และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก
มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า “พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก” แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์
จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม
และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ได้มากมายหลายแห่ง ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์
มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6 ประเภท
5.3 ข้อเสนอเเนะ
การทอผ้าควรพัฒนาตามสภาพความต้องการของลูกค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น