ชื่อเรื่อง การทอผ้าไหม
ผู้ศึกษา นาย อัษฎา
วะรามิตร ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 2
นาย จิรยุทธ์ ศรีสุนทร ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 3
นาย นภดล กองทุน ชั้น ม. 4/7 เลขที่
4
นาย กษมา คำบุญฐิติสกุล ชั้น
ม. 4/7 เลขที่ 6
นาย ธีรภพ ตั้งมั่น ชั้น ม.
4/7 เลขที่ 9
นาย พฤฒิพงษ์ อภิวัชราวัตน์ ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 39
นายมานะ ยิ่งรุ่งโรจน์ ชั้น
ม. 4/7 เลขที่ 40
ครูที่ปรึกษา คุณครูพิรมย์รัตน์ อาจยิ่ง
ระดับการศึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4
รายวิชา การศึกษาค้นคว้าเเละการสร้างองค์ความรู้
(IS1)
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเเกี่ยวกับประวัติผ้าไหมวิธีการทอผ้าไหม
เเละศึกษาประโยชน์และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ผลการศึกษาพบว่าการศึกษาการทอผ้าไหมบ้านโคกตระมูงจากการศึกษาการทอผ้าไหมบ้านโคกตระมูง
ต.ตรำดม อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พบว่าผ้าไหมตัวเเปรหนึ่งในการพัฒนาเศรษกิจในระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ ด้วยเพราะ ประวัติอันยาวนานเมื่อ
4700 ที่เเล้ว
ผ้าไหมไทยนับเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
มีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ลวดลาย และสีสันแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
ตามความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมในพื้นถิ่น จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย
(ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า
ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย
นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน
และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว
ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย
จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา
และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ
ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอนิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด
มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่น น้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง
อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้ ฝีมือการทอ
จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก
มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า “พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า
ผู้ชายตีเหล็ก” แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์
จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม
และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่างๆได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น