วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 4

บทที่4
ผลการศึกษาข้อมูล
          รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การทอผ้าไหม ผู้ศึกษาได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ
          1 เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับประวัติผ้าไหม
          2 เพื่อศึกษาวิธีการทอผ้าไหม
3 เพื่อศึกษาประโยชน์และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่
วิเคราะห์ผลตามวัตถุประสงค์
          1. ประวัติผ้าไหม มีหลักฐาน และการค้นพบเก่าแก่ที่สุด คือ มีการพบที่ประเทศจีน ประมาณ 4,700 กว่าปีที่แล้ว โดยมีหลักฐานที่สามารถอ้างถึงได้ อาทิ หนังสือจีนโบราณชื่อ ไคเภ็ก ที่กล่าวถึงพระนางง่วนฮุย พระมเหสีของพระเจ้าอึ้งตี่ ที่เป็นผู้ริเริ่มการทอผ้าไหมจากหนอนไหมที่พระองค์สังเกตเห็นโดยบังเอิญ และได้เผยแพร่ไปสู่เขตต่างๆ รวมไปถึงอาณาจักรใกล้เคียง สำหรับประเทศไทย พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าไหมที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว โดยพบเศษผ้าไหมของวัฒนธรรมบ้านเชียง ณ บ้านนาดี อำเภอหนองหาญ จังหวัดอุดร และบริเวณพื้นที่อื่นๆในภาคอีสาน ซึ่งจากการสันนิษฐาน พบว่า มีการเลี้ยง และการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งหุ่มกระจายทั่วไปในแถบภาคอีสาน และสายพันธุ์ไหมที่ใช้เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีการฟักตัวได้ตลอดทั้งปี มีลักษณะรูปร่างเรียวเล็กสีเหลือง ในส่วนภาคอื่นๆ ของประเทศมีหลักฐานตรวจพบถึงการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งห่มปรากฏตามจารึกของพงศาวดารต่างๆ จนถึงสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ถึงรัชสมัยปัจจุบัน ในสมัยราชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ 2411-2453) ถือเป็นยุคแรกของการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมของไทยซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพรองจากการทำนาเลยทีเดียว บริเวณพื้นที่อีสานถือเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหม่อนไหม และทอผ้าไหมมากที่สุด โดยสมัยนั้นเทคโนโลยีเกี่ยวกับผ้าไหมยังไม่เจริญก้าวหน้า ชาวบ้านยังทำได้เป็นเส้นไหมหยาบใช้เป็นเส้นพุงได้อย่างเดียว ส่วนไหมเส้นยืนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ
         




          2.  วิธีการทอผ้าไหม
          1.  ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแขวนฝ้ายเส้นยืน ให้อยู่ในระยะห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้าที่ต้องการ
          2.  ขา หรือตะกอ  เป็นแผงเชือกที่มีไม้ 2 อันเป็นตัวยึด ใช้แบ่งฝ้ายออกเป็นหมู่ เพื่อจัดชั้นของเส้นฝ้าย
          3.  กระสวย ใช้บรรจุแกนหลอดด้ายเส้นพุ่ง
          4.  ไม้เหยียบหรือไม้ตีนย่ำ  สำหรับเหยียบให้เขายกขึ้นลง ก่อนสอดด้ายพุ่ง
          5.  ผัง ใช้สำหรับขึงหน้าผ้าให้ตึงริมผ้าไม่ย่น
          6.  หวีฝ้าย  ใช้หวีฝ้ายเส้นยืนไม่ให้พันกันเวลาทอ
          7.  สะป้านหรือไม้พันผ้า ใช้เก็บผ้าทอที่ทอเสร็จแล้วด้านหน้าของที่นั่ง
          8.  เชือกหูก ใช้สำหรับต่อเครือหูกหรือชุดฝ้ายเส้นยืนให้ตึง
          3.  ประโยชน์ของผ้าไหม
          ประโยชน์ของผ้าทอเป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีกรรมตั้งแต่เกิดนตาย เมื่อสงครมโลกครั้งที่ ๒ ได้ยุติลงปรากฏว่าอุตสาหกรรมการทอผ้าของยุโรปซึ่งเจริญก้าวหน้า ได้เผยแพร่ขยายเข้ามาสู่สังคมไทย ผ้าทอดังกล่าว มีเนื้อแน่น สีไม่ตก มีราคาถูก ซื้อหาได้ง่าย ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลา ในการทอด้วยมือชาวบ้าน จึงนิยมใช้ผ้าทอจากเครื่องจักรแทนผ้าทอด้วยมือ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การศึกษาการทอผ้าไหม บ้านโคกตะมูง   ต ตรำดม   อ . ลำดวน   จ . สุรินทร์                         1.  นาย อัษฎา       วะรามิตร    ...