วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การทอผ้าไหม คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
          1. ความรู้ทั่วไป เรื่อง การทอผ้าไหม
          2. ความหมายของการทอผ้าไหม
          3. วิธีการทอผ้าไหม
          4. คุณค่าของผ้าไหม
1. ความรู้ทั่วไป เรื่อง การทอผ้าไหม
          1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าไหม ทั่วไปในการทอผ้า การเลือกใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งที่มีขนาดและลักษณะต่างๆ ทําให้เกิดผ้ารูปแบบ ต่างๆ ได้ เมื่อผนวกกับเทคนิคการทอที่ต่างกัน เช่นทอลายขัดธรรมดา ทอลายขัดแบบสานตะกร้า หรือเทคนิค อื่นๆ ก็จะได้ผืนผ้าที่มีลักษณะต่างกันอีกด้วย หลักใหญ่ของการทอผ้าก็คือ การนําเส้นด้ายมาขัดกันให้เป็นลวดลาย เป็นการสานเช่นเดียวกับการจัก สาน ใช้เส้นด้ายแทนเส้นตอก  โดยขึงเส้นด้ายชุดหนึ่งเป็นเส้นหลัก เรียกว่า เส้นยืน (warp yarn) แล้วใช้เส้นอีก ชุดหนึ่ง เรียกว่า เส้นพุ่ง(weft yarn) สอดตามแนวขวางของเส้นยืน ขัดกันไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะให้เส้นยืน ยกขึ้นและข่มลงสอดขัดด้วยเส้นพุ่งสลับ กันไปเรื่อยๆ  เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้น อาจกล่าวได้ว่า เส้นยืนเป็น โครงสร้างหลัก ส่วนเส้นพุ่งเป็นเส้นที่มาเติมเป็นผืนผ้า ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ทอจากเส้นไหมซึ่งเป็นใยธรรมชาติที่แข็งแรงที่สุด มีความมันวาว ดูแล้วสวยงามแตกต่างจากผ้าที่ทอด้วยเส้นใยชนิดอื่น และเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทย และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันเพราะ ประเทศไทยส่งออกผ้าไหมมูลค่าปีละประมาณ 500 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ซึ่งคิดเป็น 40 % ของปริมาณผ้าไหมที่ผลิตส่วนอีก 60% ของผ้าไหมไทยจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปในประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวม 8000 - 1,000 ล้านบาท จากการสำรวจพบว่ามีโรงงานทอผ้าไหมขนาดใหญ่ และขนาดเล็กจำนวนประมาณ 70 โรง และมีจำนวนร้านค้าผ้าไหมภายในประเทศมากกว่า 500 แห่ง
          การผลิตผ้าไหมไทยเป็นการแสดงออกถึงศิลปพื้นบ้าน และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ทอในแต่ละภูมิภาค จะมีเอกลักษณะเฉพาะของตนเอง ทำให้ผ้าไหมไทยมีความหลากหลายในตัวเอง ทั้งทางด้านกรรมวิธีการทอลวดลายและรูปแบบของผ้าซึ่งเอกลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ สามารถใช้เป็นตัวกำหนดถึงแหล่งของการผลิตได้ ประเภทของผ้าไหมที่ทอพื้นบ้าน ถ้าหากแบ่งตามกรรมวิธีการทอสามารถแบ่งได้ดังนี้
เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช้เส้นยืน และเส้นพุ่มธรรมดาตลอดกันทั้งผืน ผ้าที่ออกมาจะเป็นผ้าสีพื้นเรียบ ไม่มีลายโดยใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นสีเดียวกันหรือใช้สีต่างกันก็ได้ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งผ้าไหมไทยที่ส่งออกต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทยได้กำหนดมาตราฐาน โดยแบ่งผ้าไหมเป็น 6 ชนิด คือ
          1. ผ้าไหมไทยชนิดบางมาก (Light Weight)
          2. ผ้าไหมไทยชนิดบาง (Medium Weight)
          3. ผ้าไหมไทยชนิดหนา (Heavy Weight)
          4. ผ้าไหมไทยชนิดหนามาก (Extra Heavy Weight)
          5. ผ้าไหมไทยชนิดหนาพิเศษ (Drapery Weight)
          6. ผ้าไหมไทยชนิดหนามากพิเศษ (Upholstery Weight)
จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่ง หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ
          จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
          1. มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล
          2. นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
          3. นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่น น้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้
          4. ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ
          5. แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ
            การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก”  แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ได้มากมายหลายแห่ง ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์ มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6 ประเภท

ภาพที่ 2.1 ผ้าไหมมัดหมี่
          1. มัดหมี่โฮล หรือ จองโฮล (จองเป็นภาษาเขมร หมายถึง ผูกหรือมัด) หรือ ซัมป็วตโฮล เป็นหนึ่งในผ้าไหมมัดหมี่ของเมืองสุรินทร์ มัดหมี่แม่ลายโฮล ถือเป็นแม่ลายหลักของผ้ามัดหมี่สุรินทร์ที่มีกรรมวิธีการมัดย้อมด้วยวิธีเฉพาะ ไม่เหมือนที่ใดๆ ความโดดเด่นของการมัดย้อมแบบจองโฮล คือในการมัดย้อมแบบเดียวนี้ สามารถทอได้ 2 ลาย คือ โฮลผู้หญิง (โฮลแสร็ย) หรือผ้าโฮลธรรมดา และสามารถทอเป็นผ้าโฮลผู้ชาย (โฮลเปราะฮ์) ไว้นุ่งในงานพิธีต่างๆผ้าโฮล ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าไหม ในงาน มหกรรมผ้าไทย เทิดไท้องค์ราชินีเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2545 ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
          2. มัดหมี่อัมปรม หรือ จองกรา เป็นการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ซึ่งมีปรากฏที่จังหวัดสุรินทร์แห่งเดียวในประเทศไทย การมัดหมี่อัมปรมนี้จะทอให้ส่วนที่มัดเป็น กราปะคือ จุดปะขาวของเส้นยืน มาชนกับจุดปะขาวของเส้นพุ่ง ให้เป็นเครื่องหมายบวกบนสีพื้น เช่น การทอบนพื้นสีแดงซึ่งย้อมด้วยครั่ง ก็เรียกว่า อัมปรมครั่ง การทอบนพื้นสีม่วง ก็เรียกว่า อัมปรมปะกากะออม จังหวัดสุรินทร์ได้ตัดเสื้อผ้าไหมมัดหมี่อัมปรมให้คณะรัฐมนตรีในการเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2544
          3. มัดหมี่ลายต่างๆ หรือ จองซิน เป็นมัดหมี่ที่เหมือนจังหวัดอื่นๆ ทั่วๆ ไป มีหลายลาย แบ่งได้ดังนี้
          3.1 มัดหมี่ลายธรรมดา เช่น ลายหมี่ข้อ หมี่คั่น หมี่โคม ซึ่งจะพบมากที่ บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ บ้านสดอ บ้านนาโพธิ์ บ้านเขวาสินรินทร์ ตำบลเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ บ้านสวาย บ้านนาแห้ว ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์

ภาพที่ 2.2 ภาพมัดมี่ลายธรรมดา
          3.2 มัดหมี่ลายกนก เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายสับปะรด ลายพระตะบอง ลายก้านแย่ง ลาย พนมเปญ ลายดอกมะเขือ ส่วนมากจะพบที่ บ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ บ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน
          3.3 มัดหมี่ลายรูปสัตว์ ต้นไม้ และลายผสมอื่นๆ เช่น รูปนก ไก่ ผีเสื้อ ช้าง ม้า นกยูง ปลาหมึก พญานาค นำมาผสมกับลายต้นไม้ดอกไม้ต่างๆ หรือทอลายสัตว์เดี่ยวๆ ตลอดผืน พบมากเกือบทุกหมู่บ้าน
ผ้ายกดอกลายดอกพิกุล หรือ ปกาปกุน ผ้ายกดอกลายนี้จะย้อมเส้นด้ายยืนสีเดียวและอาจใช้สีอื่นคั่นระหว่างดอกก็ได้ การเก็บตะกอ 4 ตะกอ โดยการทอลายขัดเป็นพื้น 2 ตะกอ ส่วนอีก 2 ตะกอเป็นลวดลายการทอลายนี้จะทอทีละตะกอ จะพบที่บ้านเขวาสินรินทร์เป็นส่วนใหญ่
2.ความหมายของการทอผ้าไหม ผ้าทอเป็นสื่อสัญลักษณ์ของคนในแต่ละชุมชน  แสดงถึงเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์  และความแตกต่างทางวัฒนธรรม  ผ้าทอยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แก่จนถึงตาย  และมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม   การทอผ้าเริ่มจากการสาน  มนุษย์เริ่มสานต้นหญ้าอ่อนเพื่อใช้ใส่วัสดุสิ่งของ และต่อมากลายเป็นเสื่อและตะกร้า  และพัฒนามาเป็นวิธีการต่อต้นพืชเพื่อเป็นเส้นที่ยาวและทำให้เหนียวขึ้น  สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น  จนกระทั่งมีการคิดค้นวัสดุการทอจากพืชมาเป็นเส้นใย  เช่น  ฝ้าย  รู้จักวิธีการทออย่างง่าย  คือการนำฝ้ายมาผูกกับหินเป็นเส้นยืน  และใช้เส้นพุ่งเข้าไปเวลาทอ  ในอดีตเด็กผู้หญิงทุกคนจะถูกฝึกหัดให้รู้จักการทอผ้า  และเย็บปัก   ถ้กร้อย  ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต  ในชุมชนภาคเหนือ  ผ้าทอยังคงบทบาททางสังคมและวัฒนธรรม  นอกจากบทบาททางการค้า  ยังมีการใช้ผ้าในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ดังนั้นการสืบทอดความคิด  ความเชื่อ  แบบแผนทางสังคม  จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่  และพัฒนาศักยภาพ  ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่  ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต  เพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมควบคู่กับการพัฒนาเป็นอาชีพและรายได้ของคนชุมชน
การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมา  นอกจากคุณค่าทางศิลปะแล้วยังเป็นการแสดงถึงแบบแผนความเป็นอยู่ในสังคม  กระบวนการทอผ้าพื้นเมือง  มี  2  ขั้นตอน  คือ
1.การปั่นฝ้าย  ซึ่งกว่าจะได้เส้นใยต้องผ่านกรรมวิธี หลายอย่าง ดังนี้
          1.1 การอีดฝ้าย  เป็นเครื่องมือที่ใช้หนีบฝ้ายเพื่อเอาเมล็ดออก
          1.2 การยิงฝ้าย  เป็นการเครื่องมือที่ทำให้ผ้าพองเป็นปุยฝ้าย
          1.3 การผัดฝ้าย  เป็นการพันหรือม้วนปุยฝ้ายให้เป็นหลอดหรือเป็นหางยาว  โดยใช้ไม้คล้ายตะเกียบ
          1.4 การปั่นฝ้าย  เป็นการนำหางฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นใย
          1.5 การเปี๋ยฝ้าย  คือการนำเส้นฝ้ายที่ได้จากการปั่นมาพันเป็นเป็นใจฝ้ายสำหรับทอผ้า
3.วิธีการทอผ้าไหม
          1. ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแขวนฝ้ายเส้นยืน ให้อยู่ในระยะห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้าที่ต้องการ
          2.ขา หรือตะกอ  เป็นแผงเชือกที่มีไม้ 2 อันเป็นตัวยึด ใช้แบ่งฝ้ายออกเป็นหมู่ เพื่อจัดชั้นของเส้นฝ้าย
          3 กระสวย ใช้บรรจุแกนหลอดด้ายเส้นพุ่ง
          4 ไม้เหยียบหรือไม้ตีนย่ำ  สำหรับเหยียบให้เขายกขึ้นลง ก่อนสอดด้ายพุ่ง
          5 ผัง ใช้สำหรับขึงหน้าผ้าให้ตึงริมผ้าไม่ย่น
          6 หวีฝ้าย  ใช้หวีฝ้ายเส้นยืนไม่ให้พันกันเวลาทอ
          7 สะป้านหรือไม้พันผ้า ใช้เก็บผ้าทอที่ทอเสร็จแล้วด้านหน้าของที่นั่ง
          8 เชือกหูก ใช้สำหรับต่อเครือหูกหรือชุดฝ้ายเส้นยืนให้ตึง
ก่อนเริ่มขั้นตอนการทอผ้า  ผู้ทอจะต้องมีการวางแผนว่าต้องการผ้าแบบใด  เพื่อกำหนดขนาด ของฟืม  สีและลวดลาย  เพื่อเลือกเส้นใยและเทคนิคการทอ
4.คุณค่าของผ้าไหม การ ทอผ้าไหม เป็นอุตสาหกรรมของคนไทย ภาคอีสาน มานานแล้ว สตรีชาวอีสานเมื่อหมดหน้าทำนา จะมานั่งล้อมวง สาวไหม ปั่นและย้อมเส้นไหม ทอเป็นผืนเพื่อเก็บไว้ใช้หรือขาย ต่อสร้างผลงานสืบสานศิลปะไทยและเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงไปพร้อมกันมา ตั้งแต่ครั้งโบราณ และกว่าที่จะได้ผ้าไหมผืน สวยๆ สั้นตัดเย็บต้องผ่านขั้นตอนการเลี้ยงไหม ตัวไหมคล้าย หนอนตัวเล็กๆ กินใบหม่อนเป็นอาหารมีอายุประมาณ 45 วัน จึงเริ่มชักใย กลายเป็นรังไหม การสาวไหม เมื่อตัวไหมชักใยได้ 2 วัน จึงเริ่มเก็บรับไหมและต้องสาวไหมให้เสร็จภายใน 7 วัน เพราะตัวดักแด้จะกัด รังออกมาทำให้ได้เส้นไหมที่ไม่สมบูรณ์ เส้นไหมที่ได้มี 3 ชนิด คือ
          - ไหมต้น มีสีออกเหลืองอมแสดเส้น ใหญ่และไม่เรียบ
          - ไหมกลาง เส้นไหมขนาดกลางเรียบเสมอกันมีปุ่มเล็กน้อยนิยมนำมาตัดเสื้อผ้า เพราะไม่ นิ่มมากเสื้อผ้าที่ได้มีรูปทรงสวยงาม
          - เส้นไหมมีเนื้อละเอียดสีทองดอกบวบ เมื่อนำมาทอจะได้ ผ้าไหมที่มีเงาสวยเนื้อผ้าแน่น เมื่อหยดน้ำลงไปจะเกาะเป็นเม็ดอยู่บนเนื้อผ้า ไม่สามารถซึมเข้าไปได้ทันที จึงมีราคาแพง
การย้อมไหมผ้าไหมสมัยก่อน ไม่ค่อยมีคุณภาพ เพราะสีตก จากเทคนิคการย้อมที่ล้าสมัยที่ล้าสมัย และใช้สีย้อมที่ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ต่างๆ แต่ในปัจจุบันมีสีวิทยาศาสตร์ ทำให้สีไม่ตกและมีคุณ ภาพดีขึ้น การทอผ้าไหมปัจจุบันใช้ กี่กระตุกช่วยให้ทอง่ายและรวดเร็ว ซึ่งลายต่างๆ จะเกิดจากการ มัดย้อมเส้นไหม เรียกว่า มัดหมี่ให้เป็นลายก่อนนำมาทอ การเรียกชื่อผ้าไหมเรียกตามลายผ้า เช่น ซิ่น หมี่ ซิ่นปูม ซิ่นเชิง ซิ่นยก ลายดอกพิกุลฯ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การศึกษาการทอผ้าไหม บ้านโคกตะมูง   ต ตรำดม   อ . ลำดวน   จ . สุรินทร์                         1.  นาย อัษฎา       วะรามิตร    ...