วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560





การศึกษาการทอผ้าไหมบ้านโคกตะมูง  ต ตรำดม  .ลำดวน  .สุรินทร์
                        1.  นาย อัษฎา       วะรามิตร             เลขที่ 2
                        2.  นาย  จิรยุทธ    ศรีสุนทร              เลขที่ 3
                        3.  นาย  นภดล      กองทุน                เลขที่ 4
                        4.  นาย กษมา       คำบุญฐิติสกุล                เลขที่ 6
                        5.  นาย ธีรภพ       ตั้งมั่น                 เลขที่ 9
                        6.  นาย พฤฒิพงษ์ อภิวัชรารัตน์         เลขที่ 39
                        7.  นาย มานะ       ยิ่งรุ่งโรจน์            เลขที่ 40
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7
การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
(IS2) รหัสวิชา I31201
โรงเรียนสุรวิทยาคาร อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

กิติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ

    การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณา เเนะนำ ช่วยเหลือเป็นอย่างดีจาก
คุณครูพิรมย์รัตน์ อาจยิ่ง คุณครูที่ปรึกษารายวิชาการศึกษาค้นคว้า เเละ สร้างองค์ความรู้ (Is1) ที่ได้กรุณาให้เเนวคิด ข้อเเนะนำหลายประการ ทำให้งานวิจัยฉบับนี้สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งผู้ศึกษารู้สึกขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้

คณะผู้ศึกษา
กันยายน 2560

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การทอผ้าไหม
ผู้ศึกษา  นาย อัษฎา วะรามิตร               ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 2
          นาย จิรยุทธ์ ศรีสุนทร              ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 3
          นาย นภดล กองทุน                 ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 4
          นาย กษมา คำบุญฐิติสกุล           ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 6
          นาย ธีรภพ ตั้งมั่น                   ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 9
          นาย พฤฒิพงษ์ อภิวัชราวัตน์       ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 39
          นายมานะ ยิ่งรุ่งโรจน์               ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 40
ครูที่ปรึกษา        คุณครูพิรมย์รัตน์ อาจยิ่ง
ระดับการศึกษา    นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
รายวิชา            การศึกษาค้นคว้าเเละการสร้างองค์ความรู้ (IS1)
ปีการศึกษา         2560
บทคัดย่อ
          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเเกี่ยวกับประวัติผ้าไหมวิธีการทอผ้าไหม เเละศึกษาประโยชน์และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ผลการศึกษาพบว่าการศึกษาการทอผ้าไหมบ้านโคกตระมูงจากการศึกษาการทอผ้าไหมบ้านโคกตระมูง ต.ตรำดม .ลำดวน จ.สุรินทร์ พบว่าผ้าไหมตัวเเปรหนึ่งในการพัฒนาเศรษกิจในระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ ด้วยเพราะ ประวัติอันยาวนานเมื่อ 4700 ที่เเล้ว ผ้าไหมไทยนับเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ลวดลาย และสีสันแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ตามความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมในพื้นถิ่น           จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอนิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่น น้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้ ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ

            การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก”  แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่างๆได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ
1.ความเป็นมาและความสำคัญ
          ประวัติผ้าไหม ที่มีหลักฐาน และการค้นพบเก่าแก่ที่สุด คือ มีการพบที่ประเทศจีน ประมาณ 4,700 กว่าปีที่แล้ว โดยมีหลักฐานที่สามารถอ้างถึงได้ อาทิ หนังสือจีนโบราณชื่อ ไคเภ็ก ที่กล่าวถึงพระนางง่วนฮุย พระมเหสีของพระเจ้าอึ้งตี่ ที่เป็นผู้ริเริ่มการทอผ้าไหมจากหนอนไหมที่พระองค์สังเกตเห็นโดยบังเอิญ และได้เผยแพร่ไปสู่เขตต่างๆ รวมไปถึงอาณาจักรใกล้เคียง สำหรับประเทศไทย พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าไหมที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว โดยพบเศษผ้าไหมของวัฒนธรรมบ้านเชียง ณ บ้านนาดี อำเภอหนองหาญ จังหวัดอุดร และบริเวณพื้นที่อื่นๆในภาคอีสาน ซึ่งจากการสันนิษฐาน พบว่า มีการเลี้ยง และการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งหุ่มกระจายทั่วไปในแถบภาคอีสาน และสายพันธุ์ไหมที่ใช้เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีการฟักตัวได้ตลอดทั้งปี มีลักษณะรูปร่างเรียวเล็กสีเหลือง ในส่วนภาคอื่นๆ ของประเทศมีหลักฐานตรวจพบถึงการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งห่มปรากฏตามจารึกของพงศาวดารต่างๆ จนถึงสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ถึงรัชสมัยปัจจุบัน
          ในสมัยราชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ 2411-2453) ถือเป็นยุคแรกของการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมของไทยซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพรองจากการทำนาเลยทีเดียว บริเวณพื้นที่อีสานถือเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหม่อนไหม และทอผ้าไหมมากที่สุด โดยสมัยนั้นเทคโนโลยีเกี่ยวกับผ้าไหมยังไม่เจริญก้าวหน้า ชาวบ้านยังทำได้เป็นเส้นไหมหยาบใช้เป็นเส้นพุงได้อย่างเดียว ส่วนไหมเส้นยืนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งกรมช่างไหม และโรงเรียนสอนเกี่ยวกับการปลูก และการทอผ้าไหมโดยเฉพาะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญประเทศญี่ปุ่น จนทำให้เกิดการพัฒนาวิทยาการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และเทคโนโลยีการทอผ้าไหมมากยิ่งขึ้น อาทิ การใช้เครื่องทอผ้าไหมแทนมือ เป็นต้น แต่หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นพระชนลง การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมก็ซบเซาลง จนกระทั่ง พ.ศ. 2479 จึงมีการกลับมาส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอีกครั้ง โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริม และพัฒนาตามจังหวัดหลักๆที่มีทอผ้าไหมกันมาก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองคาย เป็นต้น พร้อมกันกับ พ.ศ. 2491 มีนักลงทุนชาวอเมริกัน จิม ทอมสัน จัดตั้งบริษัท จิมทอมสันไหมไทย จำกัด ทำให้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมของไทยพัฒนามาเป็นแบบอุตสาหกรรม และธุรกิจมากขึ้น โดยการส่งจำหน่ายที่ประเทศอเมริกา และประเทศอื่นๆ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก การทอผ้าไหม และการตลาดในปัจจุบันถูกพัฒนาในรูปการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อส่งออกต่างประเทศ และจำหน่ายภายในประเทศ แต่ก็ยังมีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น เช่น บริษัทจุลไหมไทย จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด เป็นต้น สำหรับการผลิตผ้าไหมในภาคครัวเรือนพบมากเกือบทุกภาค โดยเฉพาะในภาคอีสาน และภาคเหนือที่มีการผลิตในระดับครัวเรือน และการจัดตั้งกลุ่มผู้ทอผ้าขึ้น ปัจจุบันมีมากกว่า 200 รายทั่วประเทศ เพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และการส่งออก
          ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาค้นคว้า เรื่องวิธีการทอผ้า เพื่อให้ได้รู้ประวัติการทอผ้าวิธีการทอผ้า และ ประโยชน์ของการทอผ้า
2. วัตถุประสงค์
          2.1 เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับประวัติผ้า
          2.2 เพื่อศึกษาวิธีการทอผ้าไหม
2.3 เพื่อศึกษาประโยชน์และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่
3. ขอบเขตการศึกษา
          3.1 ศึกษาค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวกับ การทอผ้าไหม จาก Internet
          3.2 รวบรวมข้อมูลการศึกษาค้นคว้ามาจัดทำเป็นรูปแบบเล่มรายงาน
4. สมมติฐาน
          การทอผ้าในปัจจุบันสามารถทำเป็นอาชีพและมีรายได้ที่มั่นคง
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
          การทอผ้า หมายถึง ผ้าที่เกิดทอจากเส้นไหม ให้เป็นผ้าสำหรับใช้งานสำหรับเป็นเครื่องประดับตกแต่งร่างกายของคน
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          6.1 ได้ทราบเกี่ยวกับการทอผ้า
          6.2 ได้ทราบวิธีการทอผ้า

          6.3 ได้ทราบถึงประโยชน์ / สามารถนำไปเผยแพร่ได้

บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การทอผ้าไหม คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
          1. ความรู้ทั่วไป เรื่อง การทอผ้าไหม
          2. ความหมายของการทอผ้าไหม
          3. วิธีการทอผ้าไหม
          4. คุณค่าของผ้าไหม
1. ความรู้ทั่วไป เรื่อง การทอผ้าไหม
          1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าไหม ทั่วไปในการทอผ้า การเลือกใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งที่มีขนาดและลักษณะต่างๆ ทําให้เกิดผ้ารูปแบบ ต่างๆ ได้ เมื่อผนวกกับเทคนิคการทอที่ต่างกัน เช่นทอลายขัดธรรมดา ทอลายขัดแบบสานตะกร้า หรือเทคนิค อื่นๆ ก็จะได้ผืนผ้าที่มีลักษณะต่างกันอีกด้วย หลักใหญ่ของการทอผ้าก็คือ การนําเส้นด้ายมาขัดกันให้เป็นลวดลาย เป็นการสานเช่นเดียวกับการจัก สาน ใช้เส้นด้ายแทนเส้นตอก  โดยขึงเส้นด้ายชุดหนึ่งเป็นเส้นหลัก เรียกว่า เส้นยืน (warp yarn) แล้วใช้เส้นอีก ชุดหนึ่ง เรียกว่า เส้นพุ่ง(weft yarn) สอดตามแนวขวางของเส้นยืน ขัดกันไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะให้เส้นยืน ยกขึ้นและข่มลงสอดขัดด้วยเส้นพุ่งสลับ กันไปเรื่อยๆ  เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้น อาจกล่าวได้ว่า เส้นยืนเป็น โครงสร้างหลัก ส่วนเส้นพุ่งเป็นเส้นที่มาเติมเป็นผืนผ้า ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ทอจากเส้นไหมซึ่งเป็นใยธรรมชาติที่แข็งแรงที่สุด มีความมันวาว ดูแล้วสวยงามแตกต่างจากผ้าที่ทอด้วยเส้นใยชนิดอื่น และเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทย และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันเพราะ ประเทศไทยส่งออกผ้าไหมมูลค่าปีละประมาณ 500 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ซึ่งคิดเป็น 40 % ของปริมาณผ้าไหมที่ผลิตส่วนอีก 60% ของผ้าไหมไทยจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปในประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวม 8000 - 1,000 ล้านบาท จากการสำรวจพบว่ามีโรงงานทอผ้าไหมขนาดใหญ่ และขนาดเล็กจำนวนประมาณ 70 โรง และมีจำนวนร้านค้าผ้าไหมภายในประเทศมากกว่า 500 แห่ง
          การผลิตผ้าไหมไทยเป็นการแสดงออกถึงศิลปพื้นบ้าน และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ทอในแต่ละภูมิภาค จะมีเอกลักษณะเฉพาะของตนเอง ทำให้ผ้าไหมไทยมีความหลากหลายในตัวเอง ทั้งทางด้านกรรมวิธีการทอลวดลายและรูปแบบของผ้าซึ่งเอกลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ สามารถใช้เป็นตัวกำหนดถึงแหล่งของการผลิตได้ ประเภทของผ้าไหมที่ทอพื้นบ้าน ถ้าหากแบ่งตามกรรมวิธีการทอสามารถแบ่งได้ดังนี้
เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช้เส้นยืน และเส้นพุ่มธรรมดาตลอดกันทั้งผืน ผ้าที่ออกมาจะเป็นผ้าสีพื้นเรียบ ไม่มีลายโดยใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นสีเดียวกันหรือใช้สีต่างกันก็ได้ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งผ้าไหมไทยที่ส่งออกต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทยได้กำหนดมาตราฐาน โดยแบ่งผ้าไหมเป็น 6 ชนิด คือ
          1. ผ้าไหมไทยชนิดบางมาก (Light Weight)
          2. ผ้าไหมไทยชนิดบาง (Medium Weight)
          3. ผ้าไหมไทยชนิดหนา (Heavy Weight)
          4. ผ้าไหมไทยชนิดหนามาก (Extra Heavy Weight)
          5. ผ้าไหมไทยชนิดหนาพิเศษ (Drapery Weight)
          6. ผ้าไหมไทยชนิดหนามากพิเศษ (Upholstery Weight)
จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่ง หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ
          จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
          1. มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล
          2. นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
          3. นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่น น้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้
          4. ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ
          5. แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ
            การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก”  แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ได้มากมายหลายแห่ง ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์ มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6 ประเภท

ภาพที่ 2.1 ผ้าไหมมัดหมี่
          1. มัดหมี่โฮล หรือ จองโฮล (จองเป็นภาษาเขมร หมายถึง ผูกหรือมัด) หรือ ซัมป็วตโฮล เป็นหนึ่งในผ้าไหมมัดหมี่ของเมืองสุรินทร์ มัดหมี่แม่ลายโฮล ถือเป็นแม่ลายหลักของผ้ามัดหมี่สุรินทร์ที่มีกรรมวิธีการมัดย้อมด้วยวิธีเฉพาะ ไม่เหมือนที่ใดๆ ความโดดเด่นของการมัดย้อมแบบจองโฮล คือในการมัดย้อมแบบเดียวนี้ สามารถทอได้ 2 ลาย คือ โฮลผู้หญิง (โฮลแสร็ย) หรือผ้าโฮลธรรมดา และสามารถทอเป็นผ้าโฮลผู้ชาย (โฮลเปราะฮ์) ไว้นุ่งในงานพิธีต่างๆผ้าโฮล ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าไหม ในงาน มหกรรมผ้าไทย เทิดไท้องค์ราชินีเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2545 ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
          2. มัดหมี่อัมปรม หรือ จองกรา เป็นการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ซึ่งมีปรากฏที่จังหวัดสุรินทร์แห่งเดียวในประเทศไทย การมัดหมี่อัมปรมนี้จะทอให้ส่วนที่มัดเป็น กราปะคือ จุดปะขาวของเส้นยืน มาชนกับจุดปะขาวของเส้นพุ่ง ให้เป็นเครื่องหมายบวกบนสีพื้น เช่น การทอบนพื้นสีแดงซึ่งย้อมด้วยครั่ง ก็เรียกว่า อัมปรมครั่ง การทอบนพื้นสีม่วง ก็เรียกว่า อัมปรมปะกากะออม จังหวัดสุรินทร์ได้ตัดเสื้อผ้าไหมมัดหมี่อัมปรมให้คณะรัฐมนตรีในการเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2544
          3. มัดหมี่ลายต่างๆ หรือ จองซิน เป็นมัดหมี่ที่เหมือนจังหวัดอื่นๆ ทั่วๆ ไป มีหลายลาย แบ่งได้ดังนี้
          3.1 มัดหมี่ลายธรรมดา เช่น ลายหมี่ข้อ หมี่คั่น หมี่โคม ซึ่งจะพบมากที่ บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ บ้านสดอ บ้านนาโพธิ์ บ้านเขวาสินรินทร์ ตำบลเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ บ้านสวาย บ้านนาแห้ว ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์

ภาพที่ 2.2 ภาพมัดมี่ลายธรรมดา
          3.2 มัดหมี่ลายกนก เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายสับปะรด ลายพระตะบอง ลายก้านแย่ง ลาย พนมเปญ ลายดอกมะเขือ ส่วนมากจะพบที่ บ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ บ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน
          3.3 มัดหมี่ลายรูปสัตว์ ต้นไม้ และลายผสมอื่นๆ เช่น รูปนก ไก่ ผีเสื้อ ช้าง ม้า นกยูง ปลาหมึก พญานาค นำมาผสมกับลายต้นไม้ดอกไม้ต่างๆ หรือทอลายสัตว์เดี่ยวๆ ตลอดผืน พบมากเกือบทุกหมู่บ้าน
ผ้ายกดอกลายดอกพิกุล หรือ ปกาปกุน ผ้ายกดอกลายนี้จะย้อมเส้นด้ายยืนสีเดียวและอาจใช้สีอื่นคั่นระหว่างดอกก็ได้ การเก็บตะกอ 4 ตะกอ โดยการทอลายขัดเป็นพื้น 2 ตะกอ ส่วนอีก 2 ตะกอเป็นลวดลายการทอลายนี้จะทอทีละตะกอ จะพบที่บ้านเขวาสินรินทร์เป็นส่วนใหญ่
2.ความหมายของการทอผ้าไหม ผ้าทอเป็นสื่อสัญลักษณ์ของคนในแต่ละชุมชน  แสดงถึงเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์  และความแตกต่างทางวัฒนธรรม  ผ้าทอยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แก่จนถึงตาย  และมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม   การทอผ้าเริ่มจากการสาน  มนุษย์เริ่มสานต้นหญ้าอ่อนเพื่อใช้ใส่วัสดุสิ่งของ และต่อมากลายเป็นเสื่อและตะกร้า  และพัฒนามาเป็นวิธีการต่อต้นพืชเพื่อเป็นเส้นที่ยาวและทำให้เหนียวขึ้น  สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น  จนกระทั่งมีการคิดค้นวัสดุการทอจากพืชมาเป็นเส้นใย  เช่น  ฝ้าย  รู้จักวิธีการทออย่างง่าย  คือการนำฝ้ายมาผูกกับหินเป็นเส้นยืน  และใช้เส้นพุ่งเข้าไปเวลาทอ  ในอดีตเด็กผู้หญิงทุกคนจะถูกฝึกหัดให้รู้จักการทอผ้า  และเย็บปัก   ถ้กร้อย  ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต  ในชุมชนภาคเหนือ  ผ้าทอยังคงบทบาททางสังคมและวัฒนธรรม  นอกจากบทบาททางการค้า  ยังมีการใช้ผ้าในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ดังนั้นการสืบทอดความคิด  ความเชื่อ  แบบแผนทางสังคม  จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่  และพัฒนาศักยภาพ  ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่  ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต  เพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมควบคู่กับการพัฒนาเป็นอาชีพและรายได้ของคนชุมชน
การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมา  นอกจากคุณค่าทางศิลปะแล้วยังเป็นการแสดงถึงแบบแผนความเป็นอยู่ในสังคม  กระบวนการทอผ้าพื้นเมือง  มี  2  ขั้นตอน  คือ
1.การปั่นฝ้าย  ซึ่งกว่าจะได้เส้นใยต้องผ่านกรรมวิธี หลายอย่าง ดังนี้
          1.1 การอีดฝ้าย  เป็นเครื่องมือที่ใช้หนีบฝ้ายเพื่อเอาเมล็ดออก
          1.2 การยิงฝ้าย  เป็นการเครื่องมือที่ทำให้ผ้าพองเป็นปุยฝ้าย
          1.3 การผัดฝ้าย  เป็นการพันหรือม้วนปุยฝ้ายให้เป็นหลอดหรือเป็นหางยาว  โดยใช้ไม้คล้ายตะเกียบ
          1.4 การปั่นฝ้าย  เป็นการนำหางฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นใย
          1.5 การเปี๋ยฝ้าย  คือการนำเส้นฝ้ายที่ได้จากการปั่นมาพันเป็นเป็นใจฝ้ายสำหรับทอผ้า
3.วิธีการทอผ้าไหม
          1. ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแขวนฝ้ายเส้นยืน ให้อยู่ในระยะห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้าที่ต้องการ
          2.ขา หรือตะกอ  เป็นแผงเชือกที่มีไม้ 2 อันเป็นตัวยึด ใช้แบ่งฝ้ายออกเป็นหมู่ เพื่อจัดชั้นของเส้นฝ้าย
          3 กระสวย ใช้บรรจุแกนหลอดด้ายเส้นพุ่ง
          4 ไม้เหยียบหรือไม้ตีนย่ำ  สำหรับเหยียบให้เขายกขึ้นลง ก่อนสอดด้ายพุ่ง
          5 ผัง ใช้สำหรับขึงหน้าผ้าให้ตึงริมผ้าไม่ย่น
          6 หวีฝ้าย  ใช้หวีฝ้ายเส้นยืนไม่ให้พันกันเวลาทอ
          7 สะป้านหรือไม้พันผ้า ใช้เก็บผ้าทอที่ทอเสร็จแล้วด้านหน้าของที่นั่ง
          8 เชือกหูก ใช้สำหรับต่อเครือหูกหรือชุดฝ้ายเส้นยืนให้ตึง
ก่อนเริ่มขั้นตอนการทอผ้า  ผู้ทอจะต้องมีการวางแผนว่าต้องการผ้าแบบใด  เพื่อกำหนดขนาด ของฟืม  สีและลวดลาย  เพื่อเลือกเส้นใยและเทคนิคการทอ
4.คุณค่าของผ้าไหม การ ทอผ้าไหม เป็นอุตสาหกรรมของคนไทย ภาคอีสาน มานานแล้ว สตรีชาวอีสานเมื่อหมดหน้าทำนา จะมานั่งล้อมวง สาวไหม ปั่นและย้อมเส้นไหม ทอเป็นผืนเพื่อเก็บไว้ใช้หรือขาย ต่อสร้างผลงานสืบสานศิลปะไทยและเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงไปพร้อมกันมา ตั้งแต่ครั้งโบราณ และกว่าที่จะได้ผ้าไหมผืน สวยๆ สั้นตัดเย็บต้องผ่านขั้นตอนการเลี้ยงไหม ตัวไหมคล้าย หนอนตัวเล็กๆ กินใบหม่อนเป็นอาหารมีอายุประมาณ 45 วัน จึงเริ่มชักใย กลายเป็นรังไหม การสาวไหม เมื่อตัวไหมชักใยได้ 2 วัน จึงเริ่มเก็บรับไหมและต้องสาวไหมให้เสร็จภายใน 7 วัน เพราะตัวดักแด้จะกัด รังออกมาทำให้ได้เส้นไหมที่ไม่สมบูรณ์ เส้นไหมที่ได้มี 3 ชนิด คือ
          - ไหมต้น มีสีออกเหลืองอมแสดเส้น ใหญ่และไม่เรียบ
          - ไหมกลาง เส้นไหมขนาดกลางเรียบเสมอกันมีปุ่มเล็กน้อยนิยมนำมาตัดเสื้อผ้า เพราะไม่ นิ่มมากเสื้อผ้าที่ได้มีรูปทรงสวยงาม
          - เส้นไหมมีเนื้อละเอียดสีทองดอกบวบ เมื่อนำมาทอจะได้ ผ้าไหมที่มีเงาสวยเนื้อผ้าแน่น เมื่อหยดน้ำลงไปจะเกาะเป็นเม็ดอยู่บนเนื้อผ้า ไม่สามารถซึมเข้าไปได้ทันที จึงมีราคาแพง
การย้อมไหมผ้าไหมสมัยก่อน ไม่ค่อยมีคุณภาพ เพราะสีตก จากเทคนิคการย้อมที่ล้าสมัยที่ล้าสมัย และใช้สีย้อมที่ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ต่างๆ แต่ในปัจจุบันมีสีวิทยาศาสตร์ ทำให้สีไม่ตกและมีคุณ ภาพดีขึ้น การทอผ้าไหมปัจจุบันใช้ กี่กระตุกช่วยให้ทอง่ายและรวดเร็ว ซึ่งลายต่างๆ จะเกิดจากการ มัดย้อมเส้นไหม เรียกว่า มัดหมี่ให้เป็นลายก่อนนำมาทอ การเรียกชื่อผ้าไหมเรียกตามลายผ้า เช่น ซิ่น หมี่ ซิ่นปูม ซิ่นเชิง ซิ่นยก ลายดอกพิกุลฯ






บทที่ 3

บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
   รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การทอผ้า ของหมู่บ้าน โคกตระมูง ต.ตรำดม อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ มีวิธีดำเนินการศึกษา ดังต่อไปนี้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/แหล่งข้อมูล
     1.  ชาวบ้าน
     2.  คุณครูอาจารย์
     3.  ห้องสมุด
     4.  อินเทอร์เน็ต
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
     1.สมุด
     2.ปากกา
     3.มือถือ
     4.คอมพิวเตอร์
     5.อินเทอร์เน็ต
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
        3.3.1 กำหนดหัวเรื่องปรือประเด็นที่จะศึกษา
        3.3.2 เริ่มค้นคว้าจากแหล่งความรู้ เช่น ห้องสมุด ร้านหนังสือ สื่อสารสนเทศ และจากการสัมภาษณ์ ในหัวข้อดังต่อไปนี้
           1.  ความรู้ทั่วไปเรื่องการทอผ้าไหม
           2.  ความหมายการทอผ้า
           3.  วิธีการทอผ้าไหม
           4.  คุณค่าของผ้าไหม
        3.3.3 รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า การสัมภาษณ์ การสังเกต และลงมือปฏิบัติ
มาวิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูลตามหัวข้อที่ต้องการ เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้
        3.3.4 จากนนั้นนำข้อมูลที่ได้นำมาเรียบเรียงข้อมูลและจัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเผยแพร่ผลงาน
        3.3.5 นำองค์ความรู้ที่ได้รับ นำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันสังคม







บทที่ 4

บทที่4
ผลการศึกษาข้อมูล
          รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การทอผ้าไหม ผู้ศึกษาได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ
          1 เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับประวัติผ้าไหม
          2 เพื่อศึกษาวิธีการทอผ้าไหม
3 เพื่อศึกษาประโยชน์และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่
วิเคราะห์ผลตามวัตถุประสงค์
          1. ประวัติผ้าไหม มีหลักฐาน และการค้นพบเก่าแก่ที่สุด คือ มีการพบที่ประเทศจีน ประมาณ 4,700 กว่าปีที่แล้ว โดยมีหลักฐานที่สามารถอ้างถึงได้ อาทิ หนังสือจีนโบราณชื่อ ไคเภ็ก ที่กล่าวถึงพระนางง่วนฮุย พระมเหสีของพระเจ้าอึ้งตี่ ที่เป็นผู้ริเริ่มการทอผ้าไหมจากหนอนไหมที่พระองค์สังเกตเห็นโดยบังเอิญ และได้เผยแพร่ไปสู่เขตต่างๆ รวมไปถึงอาณาจักรใกล้เคียง สำหรับประเทศไทย พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าไหมที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว โดยพบเศษผ้าไหมของวัฒนธรรมบ้านเชียง ณ บ้านนาดี อำเภอหนองหาญ จังหวัดอุดร และบริเวณพื้นที่อื่นๆในภาคอีสาน ซึ่งจากการสันนิษฐาน พบว่า มีการเลี้ยง และการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งหุ่มกระจายทั่วไปในแถบภาคอีสาน และสายพันธุ์ไหมที่ใช้เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีการฟักตัวได้ตลอดทั้งปี มีลักษณะรูปร่างเรียวเล็กสีเหลือง ในส่วนภาคอื่นๆ ของประเทศมีหลักฐานตรวจพบถึงการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งห่มปรากฏตามจารึกของพงศาวดารต่างๆ จนถึงสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ถึงรัชสมัยปัจจุบัน ในสมัยราชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ 2411-2453) ถือเป็นยุคแรกของการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมของไทยซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพรองจากการทำนาเลยทีเดียว บริเวณพื้นที่อีสานถือเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหม่อนไหม และทอผ้าไหมมากที่สุด โดยสมัยนั้นเทคโนโลยีเกี่ยวกับผ้าไหมยังไม่เจริญก้าวหน้า ชาวบ้านยังทำได้เป็นเส้นไหมหยาบใช้เป็นเส้นพุงได้อย่างเดียว ส่วนไหมเส้นยืนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ
         




          2.  วิธีการทอผ้าไหม
          1.  ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแขวนฝ้ายเส้นยืน ให้อยู่ในระยะห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้าที่ต้องการ
          2.  ขา หรือตะกอ  เป็นแผงเชือกที่มีไม้ 2 อันเป็นตัวยึด ใช้แบ่งฝ้ายออกเป็นหมู่ เพื่อจัดชั้นของเส้นฝ้าย
          3.  กระสวย ใช้บรรจุแกนหลอดด้ายเส้นพุ่ง
          4.  ไม้เหยียบหรือไม้ตีนย่ำ  สำหรับเหยียบให้เขายกขึ้นลง ก่อนสอดด้ายพุ่ง
          5.  ผัง ใช้สำหรับขึงหน้าผ้าให้ตึงริมผ้าไม่ย่น
          6.  หวีฝ้าย  ใช้หวีฝ้ายเส้นยืนไม่ให้พันกันเวลาทอ
          7.  สะป้านหรือไม้พันผ้า ใช้เก็บผ้าทอที่ทอเสร็จแล้วด้านหน้าของที่นั่ง
          8.  เชือกหูก ใช้สำหรับต่อเครือหูกหรือชุดฝ้ายเส้นยืนให้ตึง
          3.  ประโยชน์ของผ้าไหม
          ประโยชน์ของผ้าทอเป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีกรรมตั้งแต่เกิดนตาย เมื่อสงครมโลกครั้งที่ ๒ ได้ยุติลงปรากฏว่าอุตสาหกรรมการทอผ้าของยุโรปซึ่งเจริญก้าวหน้า ได้เผยแพร่ขยายเข้ามาสู่สังคมไทย ผ้าทอดังกล่าว มีเนื้อแน่น สีไม่ตก มีราคาถูก ซื้อหาได้ง่าย ประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลา ในการทอด้วยมือชาวบ้าน จึงนิยมใช้ผ้าทอจากเครื่องจักรแทนผ้าทอด้วยมือ





การศึกษาการทอผ้าไหม บ้านโคกตะมูง   ต ตรำดม   อ . ลำดวน   จ . สุรินทร์                         1.  นาย อัษฎา       วะรามิตร    ...