บทที่
1
บทนำ
1.ความเป็นมาและความสำคัญ
ประวัติผ้าไหม ที่มีหลักฐาน และการค้นพบเก่าแก่ที่สุด คือ
มีการพบที่ประเทศจีน ประมาณ 4,700
กว่าปีที่แล้ว โดยมีหลักฐานที่สามารถอ้างถึงได้ อาทิ หนังสือจีนโบราณชื่อ ไคเภ็ก
ที่กล่าวถึงพระนางง่วนฮุย พระมเหสีของพระเจ้าอึ้งตี่
ที่เป็นผู้ริเริ่มการทอผ้าไหมจากหนอนไหมที่พระองค์สังเกตเห็นโดยบังเอิญ
และได้เผยแพร่ไปสู่เขตต่างๆ รวมไปถึงอาณาจักรใกล้เคียง
สำหรับประเทศไทย พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าไหมที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว โดยพบเศษผ้าไหมของวัฒนธรรมบ้านเชียง ณ บ้านนาดี
อำเภอหนองหาญ จังหวัดอุดร และบริเวณพื้นที่อื่นๆในภาคอีสาน ซึ่งจากการสันนิษฐาน พบว่า มีการเลี้ยง และการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งหุ่มกระจายทั่วไปในแถบภาคอีสาน
และสายพันธุ์ไหมที่ใช้เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีการฟักตัวได้ตลอดทั้งปี
มีลักษณะรูปร่างเรียวเล็กสีเหลือง ในส่วนภาคอื่นๆ
ของประเทศมีหลักฐานตรวจพบถึงการทอผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่งห่มปรากฏตามจารึกของพงศาวดารต่างๆ
จนถึงสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ถึงรัชสมัยปัจจุบัน
ในสมัยราชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ
2411-2453) ถือเป็นยุคแรกของการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
และการทอผ้าไหมของไทยซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพรองจากการทำนาเลยทีเดียว บริเวณพื้นที่อีสานถือเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหม่อนไหม
และทอผ้าไหมมากที่สุด โดยสมัยนั้นเทคโนโลยีเกี่ยวกับผ้าไหมยังไม่เจริญก้าวหน้า
ชาวบ้านยังทำได้เป็นเส้นไหมหยาบใช้เป็นเส้นพุงได้อย่างเดียว
ส่วนไหมเส้นยืนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งกรมช่างไหม
และโรงเรียนสอนเกี่ยวกับการปลูก
และการทอผ้าไหมโดยเฉพาะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญประเทศญี่ปุ่น
จนทำให้เกิดการพัฒนาวิทยาการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
และเทคโนโลยีการทอผ้าไหมมากยิ่งขึ้น อาทิ การใช้เครื่องทอผ้าไหมแทนมือ เป็นต้น
แต่หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นพระชนลง
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมก็ซบเซาลง จนกระทั่ง พ.ศ. 2479 จึงมีการกลับมาส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอีกครั้ง
โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริม และพัฒนาตามจังหวัดหลักๆที่มีทอผ้าไหมกันมาก
ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองคาย เป็นต้น พร้อมกันกับ พ.ศ.
2491 มีนักลงทุนชาวอเมริกัน จิม ทอมสัน จัดตั้งบริษัท
จิมทอมสันไหมไทย จำกัด ทำให้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
และการทอผ้าไหมของไทยพัฒนามาเป็นแบบอุตสาหกรรม และธุรกิจมากขึ้น
โดยการส่งจำหน่ายที่ประเทศอเมริกา และประเทศอื่นๆ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก การทอผ้าไหม
และการตลาดในปัจจุบันถูกพัฒนาในรูปการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น
เพื่อส่งออกต่างประเทศ และจำหน่ายภายในประเทศ แต่ก็ยังมีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น
เช่น บริษัทจุลไหมไทย จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด เป็นต้น สำหรับการผลิตผ้าไหมในภาคครัวเรือนพบมากเกือบทุกภาค
โดยเฉพาะในภาคอีสาน และภาคเหนือที่มีการผลิตในระดับครัวเรือน
และการจัดตั้งกลุ่มผู้ทอผ้าขึ้น ปัจจุบันมีมากกว่า 200 รายทั่วประเทศ
เพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และการส่งออก
ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาค้นคว้า เรื่องวิธีการทอผ้า
เพื่อให้ได้รู้ประวัติการทอผ้าวิธีการทอผ้า และ ประโยชน์ของการทอผ้า
2. วัตถุประสงค์
2.1
เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับประวัติผ้า
2.2
เพื่อศึกษาวิธีการทอผ้าไหม
2.3
เพื่อศึกษาประโยชน์และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่
3. ขอบเขตการศึกษา
3.1
ศึกษาค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวกับ การทอผ้าไหม จาก Internet
3.2
รวบรวมข้อมูลการศึกษาค้นคว้ามาจัดทำเป็นรูปแบบเล่มรายงาน
4. สมมติฐาน
การทอผ้าในปัจจุบันสามารถทำเป็นอาชีพและมีรายได้ที่มั่นคง
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
การทอผ้า
หมายถึง ผ้าที่เกิดทอจากเส้นไหม ให้เป็นผ้าสำหรับใช้งานสำหรับเป็นเครื่องประดับตกแต่งร่างกายของคน
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1
ได้ทราบเกี่ยวกับการทอผ้า
6.2
ได้ทราบวิธีการทอผ้า
6.3
ได้ทราบถึงประโยชน์ / สามารถนำไปเผยแพร่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น